Elon Musk เตรียมพัฒนา Twitter ให้เป็นบริการด้านการเงิน แข่งขันกับ Apple Pay และ Paypal

ความต้องการแรกๆ ของ อีลอน มัสก์ ที่มีต่อทวิตเตอร์ นั่นคือการทำให้โซเชียลมีเดียนกฟ้าแห่งนี้เป็นผู้ให้บริการด้านการเงิน

โดยมัสก์เชื่อว่านี่คือหนึ่งในช่องทางการเพิ่มรายได้ของทวิตเตอร์ที่ยั่งยืน ย้อนหลังกลับไปในเดือนพฤศจิกายน อีลอน มัสก์ ได้เผยถึงแผนการในอนาคตที่จะพัฒนาและต่อยอดทวิตเตอร์ให้เป็นมากกว่าบริษัทโซเชียลมีเดีย ซึ่งมัสก์มองไกลไปถึงขั้นให้ทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถให้บริการทางการเงินได้ อย่างไรก็ดีข้อมูลในส่วนนี้นับตั้งแต่วันนั้นก็ยังไม่มีการเปิดเผยเพิ่มเติม

แต่มีรายงานล่าสุดจากไฟแนนเชียลไทมส์ เปิดเผยว่า ทวิตเตอร์ได้ยื่นขอใบอนุญาตที่มีความจำเป็นสำหรับการเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการทางการเงินอย่างถูกต้องตามกฎหมายในสหรัฐอเมริกาแล้ว

เป้าหมายหลักของมัสก์ นั่นคือ การทำให้ทวิตเตอร์ยั่งยืนขึ้น โดยเฉพาะรายรับที่ต้องมาจากหลากหลายช่องทาง ไม่ได้อยู่แค่ระบบโฆษณาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งแนวทางที่มัสก์ต้องการพาทวิตเตอร์มุ่งไปนั่นคือการเป็น everything app กล่าวคือเป็นแอปที่ทำได้ทุกอย่าง ทั้งบริการโซเชียลมีเดีย และฟินเทค (Fintech)

เทคโนโลยี-Elon-Musk

แน่นอนว่าบริการเรื่องเงินๆ ทองๆ สำหรับ อีลอน มัสก์ แล้วถือเป็นเรื่องที่เขาคุ้นเคยกันดี เพราะก่อนหน้าที่ทุกคนจะรู้จักอีลอน มัสก์ ในฐานะต่างๆ มัสก์ได้เคยก่อตั้ง X.com ที่มีบริการคล้ายๆ กับธนาคารออนไลน์แห่งแรกๆ ก่อนที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเพย์พาล (Paypal) ในเวลาต่อมา

บริการด้านการเงินภายใต้แบรนด์ทวิตเตอร์ เชื่อว่า คงไม่ได้จำกัดอยู่ที่การให้บริการด้านการเงินแบบสกุลเงินปกติเท่านั้น แต่น่าจะหมายรวมถึงการให้บริการสกุลเงินดิจิทัลอีกด้วย โดยมีคู่แข่งอย่างแอปเปิลเพย์ และเพย์พาล (ซึ่งอีลอน มัสก์ เคยเป็นซีอีโอ)

อ่านข่าวเพิ่มเติม : ‘ไอบีเอ็ม’ เปิดวิชั่นใหญ่ ปลุก ‘เทคโนโลยี’ หนุนความ ‘ยั่งยืน’

‘ไอบีเอ็ม’ เปิดวิชั่นใหญ่ ปลุก ‘เทคโนโลยี’ หนุนความ ‘ยั่งยืน’

วันนี้ความยั่งยืนก้าวขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญในบอร์ดรูม หรือแผนกลยุทธ์ขององค์กร ขณะนี้ผู้บริโภคในหลายประเทศ

ขณะที่ COP27 หรือการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ UN กำลังดำเนินอยู่ ที่อียิปต์ และที่ผ่านมาสมัชชาระหว่างประเทศของ UN ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ IPCC ระบุถึงความจำเป็นที่ต้องลดปริมาณปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ได้ 45% ภายในปี 2573 (เทียบกับระดับก๊าซคาร์บอนในปี 2553) หากต้องการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิภายในศตวรรษนี้ไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส

เทคโนโลยีใหม่ๆ

รายงานล่าสุดโดย UN Climate Change บ่งชี้ว่า ความพยายามที่ผ่านมา ยังไม่เพียงพอหากต้องการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส โดยนับตั้งแต่ประชุม COP26 ที่กลาสโกว์ มีเพียง 29 จาก 194 ประเทศที่ได้ประกาศยุทธศาสตร์ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง และบางโครงการที่ได้ประกาศออกมาแล้ว ก็ไม่ได้การันตีว่าจะส่งผลลัพธ์ดังที่คาดไว้

“สวัสดิ์ อัศดารณ” กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย กล่าวในประเด็นนี้กับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า วันนี้หลายประเทศเริ่มมี หรือกำลังพัฒนาข้อกำหนดการเปิดเผยข้อมูลขององค์กร เกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่นในปีที่ผ่านมา สหภาพยุโรปสั่งแบนพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว อังกฤษวางแผนลงทุน 2.4 พันล้านดอลลาร์ เพื่อส่งเสริมการปั่นจักรยานและเดิน เกาหลีใต้ มีแผนจะเพิ่มเงินสนับสนุนการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นสองเท่าเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบโซลาร์เซลล์ในบ้านและอาคารพาณิชย์ จีนมีแผนจะสร้างสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 78,000 แห่ง

ขณะที่ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) วางเป้าหมายให้ไทยมีสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 567 แห่ง และเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบ Fast Charge 13,251 เครื่องทั่วประเทศ ภายในปี 2573

ในมุมธุรกิจ แม้วันนี้ความยั่งยืนดูเหมือนจะก้าวขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญในบอร์ดรูม หรือแผนกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งโดยหลักก็เพราะขณะนี้ผู้บริโภคในหลายประเทศ มองความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นของคู่กัน และมองหาแบรนด์ที่แสดงจุดยืนรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว

หากผลศึกษาโดยสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBV) และ Oxford Economics ใน 32 ประเทศ บ่งชี้ว่า “มีการพูดคุยกันมากมาย แต่ไม่ค่อยได้ลงมือทำ แม้องค์กร 86% ได้วางกลยุทธ์ความยั่งยืนไว้แล้ว แต่มีเพียง 35% เท่านั้นที่ได้ดำเนินการตามกลยุทธ์ และมีเพียง 27% ที่มองว่าความยั่งยืนเป็นองค์ประกอบหลักเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจของตน”